วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุกรณร์นำเข้าของคอมพิวเตอร์


ความรู้ Input Unit อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล 1/1


Input Unit อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
จากผังการทำงานของคอมพิวเตอร์ในบทที่ 1 จะพบว่าก่อนที่จะถึงหน่วยประมวลผล จะมีหน่วยรับข้อมูลหรือ input
unit คอยป้อนคำสั่งเข้าไปซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เองเปรียบเสมือนการมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก
อุปกรณ์ input unit มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก ( Primary Input ) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี
2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม ( Alternative input ) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่นการนำเข้ารูป การนำเข้าเสียง
จำแนกประเภทของอุปกรณ์ input ข้อมูล
หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก ( Primary Input )
- Mouse
- Keyboard
หน่วยป้อนข้อมูลเสริม ( Alternative input )
- Scanner
- Camera
- Microphone
- Lightpen
- Touch screen
- Joystick
- Touchpad
- Digitizer
2.1 รายละเอียดของอุปกรณ์ input
ถ้าจะแบ่งตามรูปแบบลักษณะการนำเข้าเราสามารถแบ่งได้เป็นประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แบบกด
a. แป้นพิมพ์ (Keyboard)
2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง
a. เมาส์ (Mouse)
b. ลูกกลมควบคุม(Track ball)
c. แท่งชี้ควบคุม(Track point)
d. แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
e. จอยสติก (Joystick)
f. จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)
g. ปากกาแสง (Light pen)
h. เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
3. เครื่องอ่านด้วยแสง
a. สแกนเนอร์ (Scanner)
P a g e | 15
CA. 206 Introduction to Computer for Communication Arts
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
4. แบบกล้อง
a. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
b. กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
5. นำเข้าด้วยเสียง
a. Microphone

2.1 อุปกรณ์แบบกด
2.1.1 แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นหน่วยรับข้อมูลเข้าที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง Keyboard
จะมีการบอกรุ่นของคีย์บอร์ดโดยใช้เลขของจำนวนคีย์ เช่น keyboard 101 ก็จะหมายถึงมี จำนวนของคีย์เท่ากับ 101คีย์ บน
แป้นพิมพ์ ปัจจุบันคีย์บอร์ดมีการออกแบบให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน
ประเภทของคีย์บอร์ด
- Microsoft Natural Keyboard Pro เป็น keyboard ที่ถูก
ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสบายในการใช้งาน โดย
คำนึงถึงสะรีระ ของผู้ใช้งาน แต่คีย์บอร์ดประเภทนี้มีข้อจำกัด
ตรงที่ ถ้าผู้ใช้พิมพ์สัมผัสไม่เป็นจะใช้งานได้ยาก
- Keyboard 101 key เป็น Keyboard รุ่นที่นิยมใช้กันในช่วงที่
ใช้งานระบบปฏิบัติการ Dos , Windows 3.x
- Keyboard 104 Key เป็นรุ่นที่มีปุ่ม Windows Key ซึ่งออกแบบมาสำหรับช่วยเสริมการทำงานของระบบ
Windows95-Vista
P a g e | 16
CA. 206 Introduction to Computer for Communication Arts
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
- Keyboardยาง สำหรับคนที่ต้องการเคลื่อนที่บ่อย ๆ หรืออยู่ในที่บริเวณที่เสี่ยงต่อน้ำจะหกบน keyboard ซึ่งเป็น
คีย์บอร์ดแบบซิริโคน สามารถม่วนพับเก็บได้
- 88KEY USB Mini Keyboard เป็นคีย์บอร์ดสำหรับการใช้
งานในพื้นที่ ที่จำกัด โดยที่ด้านล่างมี touchpad คล้ายกับที่ใช้กับ
notebook
- Numeric Keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่มีเพียงแต่แป้นตัวเลข ซึ่งส่วนใหญ่
จะนำไปใช้กับ notebook เพราะการพิมพ์ตัวเลข ต่าง ๆ บน notebook
จะค่อนข้างลำบาก

กระบวนการทำงาน


คอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีกระบวนการตามขั้นตอน ดังนี้
1. หน่วยรับเข้า เป็นจุดเริ่มต้นโดยผู้ใช้ป้อนข้อมูล ระบุโปรแกรม เลือกคำสั่ง และแสดงการตอบสนอง เช่น เปิดเครื่องเลือกโปรแกรม และพิมพ์งานด้วยแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอ
2. หน่วยเก็บความจำ มี 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำสำรอง เป็นตัวเก็บสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกป้อนเข้ามา
2. หน่วยความจำหลัก เมื่อสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกป้อนเข้ามา มีคำสั่งให้ประมวลผลข้อมูลเหล่านี้จะ
ถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลก่อน แล้วจึงถูกส่งมาเก็บที่หน่วยความจำหลัก
3. หน่วยประมวลผล เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับมาคำนวณตามคำสั่่ง
แล้วส่งผลไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก
4. หน่วยส่งออก มีหน้าที่แสดงผลของข้อมูลที่จัดเก็บ และผลที่ได้จากการประมวลผล
แล้วส่งออกมาในรูปของรายงาน ภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ


วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553


ประวัติคอมพิวเตอร์ 5 ยุค

ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง

ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง